โรคหรือไม่ใช่โรค เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม

โรคหรือไม่ใช่โรค เหนื่อยง่าย

โรคหรือไม่ใช่โรค เหนื่อยง่าย อาการหอบเหนื่อยและเจ็บหน้าอกเป็นอาการที่พบบ่อยอาการหนึ่ง ซึ่งทุกคนคงเคยมีอาการนี้มาก่อน เช่น หลังออกกำลังกาย แต่อาการเหนื่อยแบบนั้นถือว่าเป็นอาการเหนื่อยตามปกติ แม้ว่าบางคนอาจมีอาการเหนื่อยมากในขณะที่บางคนอาจเหนื่อยน้อยกว่าเมื่อออกกำลังในขนาดเดียวกันก็ตาม

อาการเหนื่อย

คนปกติต้องหายใจ เมื่อหายใจเข้าร่างกายจะนำออกซิเจนซึ่งมีอยู่ในอากาศไปให้ร่างกายใช้และเมื่อหายใจออกเพื่อนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียที่สร้างขึ้นในร่างกายออกไป การหายใจควบคุมโดยศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง ซึ่งควบคุมให้ปริมาณการหายใจเป็นสัดส่วนกับความต้องการของออกซิเจนในร่างกาย โดยที่ตัวเองไม่ต้องรับรู้ (Involuntary Breathing) เมื่อร่างกายต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น โรคหรือไม่ใช่โรค เหนื่อยง่าย ศูนย์ควบคุมการหายใจก็จะกระตุ้นให้หายใจเพิ่มขึ้นตาม เมื่อต้องการออกซิเจนน้อยลง ศูนย์ควบคุมการหายใจจะสั่งให้หายใจน้อยลง โดยไม่รู้สึกตัวว่าหายใจมากหรือหายใจน้อย แต่ตัวเองสามารถควบคุมการหายใจได้เช่นกัน เช่น ถ้าต้องการจะกลั้นหยุดหายใจหรือจะหายใจเร็วก็สามารถทำได้ (Voluntary Breathing) การหายใจต้องใช้พลังงานโดยมีกล้ามเนื้อช่วยการหายใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงของทรวงอกและกระบังลมหดตัว ทำให้ทรวงอกเคลื่อนไหวเป็นตัวสำคัญ

อาการเหนื่อยง่าย 

อาการเหนื่อยง่าย หมายถึง เมื่อเราออกกำลังแล้วเหนื่อย ในขณะที่คนปกติอื่นๆ ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันทำได้สบายโดยไม่มีอาการอะไร ดังนั้นพูดง่ายๆ คือ คนอื่นๆ เขาทำได้สบายไม่เหนื่อย แต่เราทำบ้างกลับมีอาการเหนื่อย

สาเหตุการเหนื่อยและหายใจไม่อิ่ม

สาเหตุของอาการเหนื่อยอาจเป็นจากโรคหรือไม่ใช่จากโรคก็ได้และแบ่งเป็นเหนื่อยปัจจุบัน คือ เพิ่งเป็นมา 2–3 วัน หรือเป็นเรื้อรัง คือ เป็นมานานแล้ว

สาเหตุจากโรค

สาเหตุของโรคที่สำคัญ คือ โรคปอดและโรคหัวใจ

  • โรคปอด เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด สถิติจากศูนย์ควบคุมโรคในสหรัฐอเมริกา ปี 2543 ชาวอเมริกันประมาณ 30 ล้านคนหรือ 11.03% ของประชากร ป่วยเป็นโรคปอดเรื้อรัง ในขณะเดียวกันมีชาวอเมริกัน 22 ล้านคน หรือ 8.09% ป่วยเป็นโรคหัวใจ สำหรับในประเทศไทย ในปี 2545 สถิติจากกระทรวงสาธารณสุข ปรากฏว่า ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเข้ามารับการตรวจจากแพทย์ปีละ 24.4 ล้านราย และระบบไหลเวียนของเลือด 7.2ล้านราย อัตราการตายของคนไทยจากโรคปอด ซึ่งรวมถึงปอดบวมและวัณโรค ด้วยอัตรา 31.9 ต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งเป็นโรคหัวใจจะมีอัตราตาย 27.7 จากประชากร 100,000 คน สำหรับโรคปอดในผู้ป่วยที่อายุน้อยและหนุ่มสาวมักเป็นโรคหอบหืด ส่วนคนอายุมากมักจะเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังและถุงลมปอดโป่งพอง การตรวจเอกซเรย์ปอดและตรวจสมรรถภาพปอดจะตรวจพบผู้ป่วยได้เกือบทั้งหมด แต่บางครั้งแพทย์อาจต้องการการตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอนและเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
  • โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ โรคนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 25ปีมีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ 0.2รายต่อประชากร 100,000 ราย อายุ 35–44 ปีมีโอกาสเป็น 14.7 รายต่อประชากร 100,000 ราย อายุ 75–84 ปี มีโอกาสเป็น 1252.2 รายต่อประชากร 100,000 ราย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าผู้ป่วยมีอายุน้อยกว่า 44 ปี ไม่มีอาการเจ็บ สล็อตออนไลน์คือ ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันสูง ไขมันสูง โดยเฉพาะมีเอกซเรย์หัวใจและคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ปกติแล้วอาจพูดได้เลยว่า โอกาสที่อาการเหนื่อยง่ายจะเป็นจากโรคหัวใจนั้นน้อยมาก แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจก็มีความจำเป็นที่ต้องให้แพทย์ผู้ชำนาญการทางโรคหัวใจตรวจหาสาเหตุที่แน่นอนและรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • โรคอื่น ๆ ที่ทำให้มีอาการเหนื่อยอย่างปัจจุบัน
    • จากอุบัติเหตุเกิดบาดเจ็บที่ทรวงอก เพราะอาจมีอันตรายถึงปอดและหัวใจ โรคอื่นๆ ที่ทำให้มีอาการเหนื่อยเรื้อรัง
    • โรคสมองและประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อ(Neuromuscular Disease) เช่น หลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ โรคกล้ามเนื้อฝ่อ (Muscular Atrophy or Dystrophy) และ Myasthenia Gravis เป็นต้น
      โรคทางสมองส่วนใหญ่การตรวจร่างกายก็พอจะบอกได้ว่าเป็นโรคทางสมองหรือไม่ แต่จะเป็นชนิดไหนนั้นต้องมีการตรวจและรักษาต่อ โดยแพทย์ผู้ชำนาญทางสมอง 
    • จมูกอักเสบเรื้อรัง
    • โรคคัดจมูกหรือที่รู้จักกันในนามโรคแพ้อากาศพบบ่อยในบ้านเรา โรคทำให้มีจมูกอักเสบและบวม รูจมูกตีบตัน บางคราวอาจเกิดจากดั้งจมูกคดจากอุบัติเหตุ ทำให้หายใจลำบากเวลานอนหรือเวลาออกกำลังต้องอ้าปากหายใจ เพราะหายใจได้ง่ายกว่า แพทย์ผู้ชำนาญโรคหู คอ จมูกจะให้การดูแลโรคนี้ได้อย่างดี การตรวจหาสาเหตุอาการเหนื่อย หายใจไม่อิ่มที่ไม่ได้เกิดจากโรค ผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อยมักเกิดจากการที่ไม่ค่อยได้ออกกำลัง พักผ่อนไม่พอ หรือหลับไม่สนิท โดยเฉพาะมีเรื่องเครียด กังวลไม่ว่าจะเป็นจากการงานหรือเรื่องภายในครอบครัว อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่ายได้ ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจไม่เต็มอิ่ม รู้สึกอากาศไม่เข้าไปในปอด หายใจลึก ๆ 3 – 4 ครั้งแล้วจะสบาย หรือชอบถอนหายใจ บางครั้งผู้ป่วยมีปัญหา แต่คิดว่าไม่มีอะไรเพราะแก้ไขได้ แต่จริง ๆ แล้วจิตใต้สำนึกยังคงเก็บปัญหาไวอยู่ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะสบายขึ้นจากการได้รับยาคลายเครียดอ่อน ๆ โดยเฉพาะเวลานอน แต่มีผู้ป่วยบางรายที่อาจต้องปรึกษาจิตแพทย์ บางครั้งจะมีอาการอื่น เช่น ใจสั่น กรดในท้องมาก ท้องเดินบ่อย มึนศีรษะ ปวดศีรษะ หรือตกใจง่ายร่วมด้วย
    • โรคโลหิตจาง 
    • โรคคอพอกเป็นพิษ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินขนาด (Thyrotoxicosis or Hyperthyroidism)
    • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย(Hypothyroidism)
    • การพิการของกระดูกทรวงอกจำกัดการเคลื่อนไหวของทรวงอก ทำให้การหายใจลำบากขึ้น ออกแรงมากขึ้น
    • กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับ(Gastroesophageal Reflux) และท้องอืด
    • โรคไตเรื้อรัง
    • โรคตับในระยะรุนแรง

สาเหตุไม่ใช่จากโรค

  • ออกกำลังกายน้อยมาก ไม่ค่อยได้ออกกำลัง(Physically Unfit)
  • กำลังฟื้นตัวจากไข้
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • เครียด กังวลท้อใจ(เหนื่อยใจ)

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่มาหาด้วยอาการเหนื่อยง่ายมักไม่ได้เกิดจากโรค แต่มีโรคจำนวนมากที่ทำให้เกิดอาการเหนื่อย หากไม่รักษาหรือรักษาช้าไปอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหรือต้องพิการมีอาการเหนื่อยไปตลอดชีวิต

ความรุนแรงของอาการเหนื่อย

แพทย์มักถามถึงความรุนแรงของอาการเหนื่อยว่ามีมากน้อยเพียงใดโดยดูความสามารถในการออกกำลังเพื่อประเมินดูสมรรถภาพผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค ที่ใช้กันทั่วไปแบบง่ายๆ คือ ใช้ Word Scale (Modified Medical Research Council Scale) โดยแบ่งเป็น Grade 0ถึง4

  • Grade0 ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ยกเว้นไปออกกำลังอย่างหนัก
  • Grade1 มีอาการเหนื่อยเมื่อเดินเร็วๆ บนทางราบหรือเดินขึ้นเขา
  • Grade2 ต้องเดินบนทางราบได้ช้ากว่าคนปกติที่มีอายุขนาดเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงเกิดอาการหอบเหนื่อยหรือต้องหยุดพักเพื่อหายใจเมื่อเดินบนทางราบได้ระยะหนึ่ง 
  • Grade3 ต้องหยุดพักหายใจเพราะเหนื่อย เมื่อเดินได้ประมาณ 100 หลาหรือในราว 2–3 นาที 
  • Grade4 มีอาการเหนื่อยเมื่อต้องออกจากบ้านหรือเหนื่อยเมื่อสวมหรือถอดเสื้อผ้าออกเอง หรืออาจใช้การแบ่งของสมาคมโรคหัวใจของนครนิวยอร์ก (New York Heart Association Functional Classification) ที่แบ่งออกได้ ดังนี้
    – ClassI ออกกำลัง(Physical Activity) ได้ไม่จำกัดเหมือนคนปกติ
    – ClassII จำกัดการออกกำลังเพียงเล็กน้อย สล็อต 888 pg ไม่เหนื่อยสบายดีไม่มีอาการถ้าอยู่เฉยๆ แต่ออกกำลังตามธรรมดามีอาการเหนื่อยบ้าง 
    – ClassIII ต้องจำกัดการออกกำลังอย่างมาก ไม่เหนื่อยสบายดีไม่มีอาการถ้าอยู่เฉยๆ ออกกำลังเล็กน้อยก็เหนื่อย
    – ClassIV ไม่สามารถออกกำลังได้โดยไม่เหนื่อย แม้แต่อยู่เฉยๆ ก็อาจจะเหนื่อยอาการจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อออกกำลังเพิ่มขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *